น้ำมันหอมระเหยคืออะไร - น้ำมันหอมระเหยเป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอม ระเหยง่าย โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษ ต่อมหรือท่อ เพื่อสร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะเห็นต่อมน้ำมันได้ชัดในส่วนของใบและเปลือกผลของพืชจำพวกส้ม น้ำมันหอม ระเหยพบได้ตามส่วนต่างๆของพืชได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด
องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสารสำคัญ2 กลุ่ม คือ เทอปีน (terpenes) และ ฟีนีลโพรปานอยด์ ( phenyl pro-panoids) - สารเทอปีนที่พบมากในน้ำมันหอมระเหย เป็นพวกที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำได้แก่ โมโนเทอปีน(monoterpenes, C-10) เช่น limonene, citral, geraniol, menthol, camphor และเสสควิเท-อปีน (sesquiterpenes, C-15) เช่น b-bisabolene, b-caryophyllene ฟีนีลโพรปานอยด์ (C6-C1)พบได้น้อยกว่าสารกลุ่มเทอปีน ได้แก่ eugenol, anethole
พืชสร้างน้ำมันหอมระเหยมาทำไม - กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูด แมลงมาผสมเกสร น้ำมันหอมระเหยในส่วนอื่นๆของพืชเชื่อว่ามีผลในการป้องกันตนเอง จากศัตรูภายนอกที่จะมาทำลายพืชนั้นๆเช่นแมลง เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อโรคพืชอะไรบ้างที่ให้น้ำมันหอมระเหย - พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยมีกระจายอยู่ในวงศ์พืชต่างๆ ไม่เกิน 60วงศ์ ที่สำคัญได้แก่ Labiatae(มินต์) , Rutaceae(ส้ม), Zingiberaceae(ขิง), Gramineae(ตะไคร้) พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยที่มีปลูกเป็นการค้ามีอยู่ไม่เกิน 100 ชนิดที่สำคัญมีดังนี้ 1. สะระแหน่(peppermint-Mentha piperata spearmint-M. spicata, M. cardiaca ในสหรัฐอเมริกา) 2. ตะไคร้(lemongrass-Cymbopogon citratus)ในอินเดีย 3. ตะไคร้หอม(citronella Cymbopogon nardus)ในใต้หวัน 4. กระดังงา(cananga or ylang-ylang-Cananga odorata) ในฟิลิปปินส์และ อินโดนีเซีย 5. เบอร์กามอต(bergamot- Citrus bergamia )ในอิตาลี 6. โหระพา (sweet basil-Ocimum basilicum )ในเกาะรียูเนียน ชิลีและโคโมรอส
วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย การสกัดกลิ่นหอมออกจากพืชหอม ได้มีการทำมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในสมัยโบราณ จะนิยมนำดอกไม้หอมมาแช่น้ำทิ้งไว้ และนำน้ำที่มีกลิ่นหอมนั้น ไปใช้ดื่มหรืออาบ ต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการสกัดกลิ่นหอม เพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพ และปริมาณสูงสุด วิธีการดังกล่าวนั้นมีหลายวิธี การที่จะเลือกใช้วิธีใดนั้น ต้องพิจารณาลักษณะของพืชที่จะนำมาสกัดด้วยวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. การกลั่นโดยใช้น้ำ - วิธีนี้สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์สำหรับการกลั่น เช่น หม้อกลั่น, เครื่องควบแน่น และภาชนะรองรับน้ำมัน วิธีการก็คือ บรรจุพืชที่ต้องการสกัดน้ำมันหอม ระเหยลงในหม้อกลั่น เติมน้ำพอท่วมแล้วต้มจนน้ำเดือด เมื่อน้ำเดือดระเหยเป็นไอ ไอน้ำจะช่วยพาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเนื้อเยื่อของพืชออกมาพร้อมกัน เมื่อผ่านเครื่องควบแน่น ไอน้ำและไอของน้ำมันหอมระเหยจะควบแน่นเป็นของเหลว ได้น้ำมันหอมระเหย และน้ำ แยกชั้นจากกัน - สำหรับการกลั่นพืชปริมาณน้อยๆ ในห้องปฏิบัติการ เราสามารถทำได้ โดยใช้ชุดกลั่นที่ทำจากเครื่องแก้ว เรียกว่า ชุดกลั่นชนิด Clevenger ส่วนการกลั่นพืชปริมาณมาก ควรใช้เครื่องกลั่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจทำด้วยเหล็กสเตนเลสหรือทองแดง โดยอาศัยหลักการเดียวกัน - การกลั่นโดยใช้น้ำนี้ มีข้อดี คือ เป็นวิธีที่ง่าย อุปกรณ์ในการกลั่น ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ก็มีข้อเสีย คือ ในกรณีที่ต้องกลั่นพืชปริมาณๆ ความร้อนที่ให้สู่หม้อกลั่นจะไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งหม้อกลั่น พืชที่อยู่ด้านล่างใกล้กับเตา อาจเกิดการไหม้ได้ ทำให้น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ มีกลั่นเหม็นไหม้ติดปนมา อีกทั้งการกลั่นโดยวิธีนี้ พืชจะต้องสัมผัสกับน้ำเดือดโดยตรงเป็นเวลานาน ทำให้องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย เกิดการเปลี่ยนแปลงไปบ้างบางส่วน
2. การกลั่นโดยใช้น้ำและไอน้ำ วิธีนี้มีหลักการคล้ายกับการกลั่นโดยใช้น้ำ แต่แตกต่างตรงที่ ภายในหม้อกลั่นจะมีตะแกรงสำหรับวางพืชไว้เหนือระดับน้ำ เมื่อให้ความร้อน โดยเปลวไฟ หรือไอน้ำจากเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler),น้ำภายในหม้อกลั่น จะเดือดกลายเป็นไอ การกลั่นโดยวิธีนี้ พืชที่ใช้กลั่นจะไม่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยดีกว่าวิธีแรก 3. การกลั่นโดยใช้ไอน้ำ การกลั่นโดยวิธีนี้ ก็คล้ายกับวิธีที่ 2 แต่ไม่ต้องเติมน้ำลงในหม้อกลั่น เมื่อบรรจุพืชลงบนตะแกรงแล้ว ผ่านความร้อนจากไอน้ำที่ได้จากเครื่องกำเนิดไอน้ำ ไอน้ำจะช่วยน้ำมันหอมระเหยในพืชระเหยออกมาอางรวดเร็ว วิธีนี้มีข้อดี คือ เวลาที่ใช้ในการกลั่นจะสั้นกว่า ปริมาณน้ำมันมีคุณภาพ และปริมาณดีกว่า แต่ไม่เหมาะกับพืชที่มีลักษณะบาง เช่น กลีบกุหลาบ เพราะไอน้ำจะทำ ให้กลีบกุหลาบรวมตัวกันเป็นก้อน น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในกลีบกุหลาบไม่สามารถออกมา พร้อมไอน้ำได้ทั้งหมด ทำให้ได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยน้อยลง หรือไม่ได้เลย การกลั่นน้ำมันกุหลาบ จึงควรใช้วิธีการกลั่นด้วยน้ำจะเหมาะสมกว่า 4. การสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้ที่ไม่สามารถใช้วิธีกลั่น โดยใช้ไอน้ำได้เนื่องจากองค์ประกอบของสารหอมระเหยในดอกไม้จะสลายตัวเมื่อ ถูกความร้อนสูง ดังนั้นจึงใช้ตัวทำละลายเช่น เฮกเซน สกัดน้ำมันหอมระเหยออกมา หลังจากนั้นจะระเหยไล่ตัวทำละลายออกที่อุณหภูมิและความกดดันต่ำ ก็จะได้หัวน้ำหอม ชนิด concrete 5. การสกัดโดยใช้ไขมัน (enfleurage) การสกัดโดยใช้ไขมันเป็นวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม มักใช้กับดอกไม้กลีบบาง เช่นมะลิ ซ่อนกลิ่น โดยจะใช้ไขมันประเภทน้ำมันหมูเกลี่ยลงบนถาดไม้ แล้วนำ ดอกไม้มาเกลี่ยทับเป็นชั้นบางๆ จนเต็มถาด ตั้งทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนดอกไม้ ชุดใหม่ ทำซ้ำประมาณ 7-10 ครั้ง ไขมันจะดูดซับสารหอมไว้เรียกไขมันที่ดูดซับ สารหอมนี้ว่า pomade หลังจากนั้นใช้เอทธานอลละลายสารหอมออกจากไขมัน นำไประเหยไล่ตัวละลายออกที่อุณหภูมิและความกดดันต่ำ จะได้หัวน้ำหอมชนิด concrete เมื่อแยกส่วนที่เป็นไขมันออกโดยการนำมาละลายเอทธานอลแล้ว แช่เย็นเพื่อแยกส่วนที่เป็นไขออก หลังจากระเหยไล่ตัวละลายออกจะได้หัวน้ำหอมชนิด absolute ซึ่งจัดเป็นหัวน้ำหอมชนิดดีและราคาแพงที่สุด 6. วิธีบีบ วิธีนี้มักใช้กับเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีกลิ่นและคุณภาพดีนอกจากนี้ ยังมีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้โดยใช้ คาร์บอนไดออกไซด์เหลว โดยเรียกวิธีนี้ว่า Supercritical carbondioxide fluid extraction ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ เหมาะสำหรับการสกัดสารที่สลายตัวง่ายเมื่อ ถูกความร้อน แต่สูญเสียค่าใช้จ่ายมาก
คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่าง ๆ น้ำมันหอมระเหย กลิ่นต่างๆ ที่เราใช้บำบัด ในยุคสปาร้อนแรงเดี๋ยวนี้ มีขาย หาซื้อได้ง่ายนะคะ สิ่งที่เราควรคำนึง คือเราต้องการกลิ่นไหน เราต้องการให้ช่วยบำบัด แก้ไข เรื่องใด - น้ำมันหอมระเหยจากมะนาว (Lemon) ทำให้ร่างกายกระปี้กระเปร่าสามารถใช้ในการอาบน้ำนวดคลายกล้ามเนื้อ แต่สิ่งที่คุณควรระวังก็คือไม่ควรใช้ก่อนออกแดดเพราะจะทำให้ผิวหนังของคุณคล้ำได้ - น้ำมันหอมระเหยจากส้ม (Orange) ทำให้มีจิตใจเบิกบาน สดชื่น อารมณ์เย็น แต่คุณไม่ควรใช้น้ำมันหอมประเภทนี้ก่อนการออกแดดเพราะจะทำให้ผิวหนังของคุณคล้ำได้ - น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบ (Rose) ช่วยผ่อนคลายความเครียด เพิ่มอารมย์รักใคร่ ฟื้นฟูความมั่นใจ แม้น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้จะมีราคาสูงมาก เพราะต้องใช้กลีบกุหลาบในปริมาณมากๆในการสกัด แต่นิยมใช้เพราะมีสรรพคุณที่สูงตามไปด้วย - น้ำมันหอมระเหยจากมะลิ (Jasmine) ช่วยคลายเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาความเจ็บปวด แต่ไม่ควรใช้ขณะตั้งครรภ์ และทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาได้ง่าย - น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ (Lemon Grass) ช่วยในการยับยั้งการติดเชื้อโรค ป้องกันแบคทีเรีย ฉีดเพื่อสร้างอากาศบริสุทธิ์ สามารถใช้ขับไล่แมลงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีใดๆ - น้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัส (Eucalyptus) ช่วยในการต่อต้านเชื้อโรค ลดอาการคัดจมูกทำให้หายใจสะดวกขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นหวัด สามารถใช้ในการอาบน้ำ นวดคลายกล้ามเนื้อ ฉีดให้มีกลิ่นหอม ทั้งยังเป็นส่วนผสมในการผลิตภัณฑ์ บำรุงผิวพรรณและเส้นผมอีกด้วย - น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด (Bergamot) ทำให้จิตใจของคุณร่าเริง น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้มีความไวต่อแสงอาทิตย์มาก จึงทำให้ผิวหนังไหม้ได้ง่าย คุณจึงควรใช้น้ำมันหอมชนิดนี้แต่เพียงเล็กน้อย - น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ (Peppermint) เป็นน้ำมันชนิดที่ให้พลังงาน ยับยั้งเชื้อโรคและบรรเทาอาการเจ็บปวด สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ - น้ำมันหอมระเหยจากต้นชา( Tea Tree) ช่วยพัฒนาความคิดในเชิงบวก และเสริมสร้างความมั่นใจให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย - น้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงา(Yiang Yiang) ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เหมาะในการใช้อาบน้ำ นวดคลาย กล้ามเนื้อ - น้ำมันหอมระเหยจากสน(Pine) ช่วยในการลดอาการเลือดคั่งและปรับสภาพสีผิว ส่งผลดีต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เหมาะที่จะใช้ในการสูดดม อาบน้ำ และยังสามารถใช้บำรุงเส้นผมได้ดีอีกด้วย - น้ำมันหอมระเหยจากกำยาน (Franincense) ช่วยในการบำรุงกำลังและเพิ่มความสวยงาม ช่วยให้รู้สึกเย็นสบายและผ่อนคลาย สามารถใช้ในการอาบน้ำและฉีดให้มีกลิ่นหอมได้ - น้ำมันหอมระเหยจากว่าน (Cardamon) ช่วยในการฟื้นฟูสภาพความเมื่อยล้าและเฉื่อยชาเซื่องซึม เหมาะสำหรับการอาบน้ำ และนวดคลายกล้ามเนื้อ - น้ำมันหอมระเหยจากคาโมไมล์ (Camomile) ช่วยในการสร้างความผ่อนคลาย ทำให้คุณหลับสบาย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ผิวแก่ก่อนวัย เหมาะใช้ในการอาบน้ำ และนวดคลายกล้ามเนื้อ - น้ำมันหอมระเหยจากใบแมงลัก (Basil) เสริมสร้างความกระปรี้กระเปร่าทำให้หายจากอาการง่วงเหงาซึมเซา สร้างสมาธิเพิ่มมากขึ้นจิตใจปลอดโปร่ง ใช้ได้ทั้งการอาบน้ำและการนวด แต่ควรระวังในสตรีมีครรภ์ ควรใช้ในปริมาณเล็กน้อยและไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ |